วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

เรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพเขียนไฟ กลางคืน

เรามารู้จักกับการถ่ายภาพเขียนไฟหรือการเขียนภาพด้วยแสงไฟค่ะ

      การถ่ายภาพแบบให้แสงไฟสีต่าง ๆ ต้องใช้ห้องที่มืดสนิทโดยมีฉากผ้าหรือกระดาษสีดำ แสงไฟสีทำได้โดยใช้ไฟฉายธรรมดาขนาดเล็ก หุ้มกระดาษแก้วสีต่าง ๆ ตามความต้องการ จัดตั้งไฟแฟลชให้ส่องตรงไปยังแบบ    เมื่อจัดฉากเรียบร้อยแล้วให้แบบยืนแสดงท่าตามต้องการ ให้ผู้วาดเส้น แสง สี คลุมพาดดำถือไฟฉายหุ้มกระดาษแก้วสี ยืนด้านหลังของแบบกล้องถ่ายภาพต้องตั้งบนขาตั้งกล้อง เปิดความเร็วชัตเตอร์ที่ B ส่วนช่องรับแสงตั้งไว้ที่ f11

     เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ให้กด ชัตเตอร์ ผู้วาดเส้นจะเริ่มเปิดไฟฉายวาดแสงสีต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ใช้กระดาษแก้วสีแดงวาด 15 วินาที แล้วเปลี่ยนกระดาษแก้วเป็นสีฟ้า 10 วินาที กระดาษแก้วสีเหลืองอีก 5 วินาที หลังจากนั้นผู้วาดแบบจะออกมาจากฉากเปิดไฟแฟลช 1 ครั้ง แล้วปิดชัตเตอร์จะได้ภาพตามต้องการ

     ส่วนภาพแสงเทียนประกอบกับดอกไม้ไฟนั้น ก็จัดฉากให้เป็นสีดำ จัดแบบเทียนไขสีต่าง ๆ ให้ได้ขนาดตามต้องการ ตั้งบนแผ่นไม้รองเทียนที่มีขาตั้งสีดำกลมกลืนกับความมืด กล้องถ่ายภาพตั้งบนขาตั้งกล้อง เปิดความเร็วชัตเตอร์ที่ B ช่องรับแสงเปิดที่ f11 เมื่อเรียบร้อยแล้ว จุดเทียนไขกดชัตเตอร์ใช้เวลาประมาณ 5 วินาที จากนั้นให้ผู้ช่วยที่คลุมผ้าดำ จุดดอกไม้ไฟวนไปมารอบเทียนไขอีกประมาณ 3 – 5 วินาที แล้วปิดชัตเตอร์



อันนี้ เป็นตังอย่างภาพเขียนไฟนะคะ
ภาพจาก http://pdamobiz.com/ ค่ะ

เรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพนิ่ง

เทคนิคการถ่ายภาพนิ่ง

        การถ่ายภาพนิ่งเหมาะสำหรับผู้เริ่มฝึกถ่ายภาพใหม่ๆ น่าจะลองถ่ายภาพประเภทภาพนิ่งดูก่อน เพราะภาพนิ่ง จะพบเห็นได้อยู่ทั่วไป โดยเน้นสิ่งของที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เช่น ปากกา ดินสอ รองเท้าเก่าๆ สมุดที่ปกสวยๆ เป็นต้น สิ่งของต่างๆ เหล่านี้ จะมีรูปทรงอยู่ในตัวของมันเอง เพียงแต่เราต้องค้นหา ใช้มุมมองส่วนตัว นำสิ่งเหล่านั้นมาจัดวาง โดยใช้องค์ประกอบศิลปะในเรื่องของสี รูปทรง และการให้แสงที่ดูสดใส น่าสนใจ ตามใจชอบ

         ทอม เชื้อวิวัฒน์ (ไม่ระบุปีพิมพ์: 31-35) ได้ให้ข้อแนะนำว่า....การถ่ายภาพนิ่งเป็นแบบฝึกหัดที่ดีของ นักถ่ายภาพ เราต้องรู้จักค้นหาและเลือกหามุมจับภาพให้ดูน่าสนใจ…
"องค์ประกอบภาพ" เป็นสิ่งจำเป็น การถ่ายภาพนิ่งสอนให้เราเรียนรู้องค์ประกอบของภาพ (Composition) วิธีที่ถูกต้อง ควรเริ่มต้นจากการจัดของจากสิ่งเดียว แล้วจึงเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น"

เทคนิคในการถ่ายภาพนิ่ง

         เทคนิคในการถ่ายภาพนิ่งครั้งนี้รวบรวมจากแนวความคิดและแหล่งข้อมูลที่ค้นคว้ามาได้สรุปดังนี้

1. ควรเริ่มจากของง่าย ๆ ใกล้ ๆ ตัวก่อน
2. ควรเลือกสีของวัตถุ และฉากต้องกลมกลืนกันหรือตัดกันให้เด่น
3. การให้แสงต้องเริ่มจากแสงเพียงดวงเดียวก่อน หรืออาจใช้แผ่นสะท้อนเข้าช่วย
4. หรืออาจถ่ายโดยใช้แสงธรรมชาติ (ดวงอาทิตย์ เป็นแสงทางเดียวไม่มีเงาทำให้สับสน)
5. ควรใช้เลนส์ถ่ายใกล้ เช่น Macro หรือใช้ฟิลเตอร์ Close up ในกรณีที่วัตถุที่ถ่ายเล็กมาก
6. ควรจัดมุมกล้องให้ดี มีภาพเต็มจอภาพในช่องมองของกล้อง
7. บางกรณีสามารถใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อเน้นวัตถุให้เด่นกว่าปกติ
8. อย่าให้เหลือพื้นที่ฉากหลังมากเกินไป ภาพจะดูหลวม
9. การถ่ายภาพย้อนแสง หรือการให้แสงด้านหลังของวัตถุทำให้เห็นรูปร่างของวัตถุได้อย่างชัดเจน
ในการถ่ายภาพนิ่ง สามารถให้แสงกับวัตถุใส เช่น แก้วน้ำ ขวดน้ำ จำพวกเครื่องดื่ม ทำให้เห็นสีของน้ำที่บรรจุ ในภาชนะดูสดสวย หรือรูปผลไม้ใส่ในแก้ว
 อุปกรณ์ในการฝึกถ่ายเบื้องต้น

1. หาโต๊ะใช้ตั้งวัตถุที่จะถ่าย หรืออาจทำโต๊ะขึ้นเอง จากแผ่นพลาสติก (PVC)
2. กระดาษสะท้อนแสง (กระดาษขาว, กระดาษฟรอยด์)หรือจะเป็นกระด่ษไขก็ไช้ได้ค่ะ
3. โคมไฟ (อ่านหนังสือ)1 ดวง หรือมากกว่า
4. พื้นผิว หรือฉากหลัง อาจใช้กระดาษลวดลายหรือสีต่าง ๆ มาประกอบเป็นฉากหลังได้

ลองฝึกตามแบบฝึกหัด
1. ถ่ายภาพผลไม้/ดอกไม้/ไข่
เทคนิค - ใช้ไฟดวงเดียว
- ใช้เลนส์ถ่ายใกล้ 55 มม. (Micro) หรือเลนส์ไมโคร
- ควรใช้หน้ากล้องแคบ ประมาณ f11, f16
- อย่าลืมใช้ขาตั้งกล้องเพื่อความมั่นคง
2. ลองถ่ายภาพใบไม้บาง ๆ ผลไม้ ผักหั่นฝานบาง ๆ ขวดเหล้า แก้วน้ำ
3. ถ่ายภาชนะใส ๆ ขวดหรือถ้วยแก้วใส่น้ำสีต่าง ๆ

        สรุป การถ่ายภาพนิ่ง เป็นพื้นฐานจากการมองวัสดุที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวเรา นำมาจัดวางให้เกิดองค์ประกอบทาง ศิลปะที่น่าสนใจ ทั้งด้าน รูปทรง สี ผิวสัมผัส ถ้าเราจัดวางได้สวยจัดแสงได้เหมาะสม และรู้เทคนิคในการถ่าย คุณจะได้ รูปถ่ายที่น่าสนใจเก็บไว้ดูไปอีกนาน